Samarkand ศูนย์กลางเอเชียกลาง
Samarkand ศูนย์กลางเอเชียกลาง

Samarkand ซามาร์คาน 

Samarkand ; ซามาร์คาน ตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศอุซเบกิสถาน ความรุ่งโรจน์ของเมืองเริ่มจากชุมทางการค้าขายบนเส้นทางสายไหมที่พาดผ่านเอเชียกลาง อดีตนครหลวงแห่งศิลปกรรม เมืองที่เต็มไปด้วยงานศิลปะ สถาปัตยกรรม วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี รวมถึงวิทยาการความรู้จากจีน และเปอร์เซีย ทั้งเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การค้า ศาสนา และวัฒนธรรมที่สำคัญ จนได้รับฉายา กรุงโรมของโลกตะวันออก” และทั้งหมดนี้คือเอกลักษณ์ และตัวตนบรรพบุรุษของชาวอุซเบค ประเทศอุซเบกิสถาน [Uzbekistan] ในปัจจุบัน อดีตกาลพื้นที่บริเวณซามาร์คานเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของพวกซ๊อกเดียน [Soghdian] ซึ่งร่วมสมัยกับยุคทราวดีของสยาม ในปี 327 ก่อนคริสตกาล พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชได้เข้ามายึดครองเมือง และใช้ซามาร์คานเป็นฐานกำลังในการบุกลงอินเดียต่อไป 

ซามาร์คาน จัดเป็นแคว้นหนึ่งของพวกเปอร์เซีย-เติร์ก ด้วยการเป็นศูนย์กลางการเดินทางตามเส้นทางสายไหม จึงทำให้เมืองนี้เต็มไปด้วยผู้คนมากหน้าหลายตาที่เดินทางมาเยือน กลุ่มคนที่มีอิทธิพลที่สุด 2 อันดับแรกคือ ชาวมองโกล และชาวเติร์กนั้นเอง ทัพมองโกลอันเกรียงไกรสามารถยึดครองจีน (ราชวงศ์หยวน) และเมืองต่างๆ ตั้งแต่ที่ราบมองโกลไปจนถึงยุโรปตะวันออกนั้น ในการปกครองพื้นที่ต่างๆ ก่อเกิดเป็นแคว้นข่านต่างๆ มากมาย แต่เมื่อยุคเจงกิสข่านสิ้นสุดลง อุซเบกิสถานก็เป็นดินแดนผู้ให้กำเนิดมหาราชเลือดผสมคนใหม่นามว่าAmir Timur ; อมิร์ ติมูร์”  วีรบุรุษภาคพื้นเอเชียกลางผู้ซึ่งชาวอุซเบกิสถานยกย่องเป็น “มหาราชผู้ยิ่งใหญ่” ผู้สถาปนาจักรวรรดิติมูริด [Timurid] อันยิ่งใหญ่เกรียงไกร โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ซามาร์คานราวค.ศ. 1370 ร่วมสมัยกับสมเด็จพระราเมศวรแห่งกรุงศรีอยุธยา (อยุธยาตอนต้น) 

Amir Timur ; อมิร์ ตีมูร์ เกิดเมื่อปีค.. 1336 ที่เมืองคาช [Kash] หรือเมืองชาครีซาบส์ [Shakhrisabz] ทางตอนใต้ของเมืองซามาร์คานในปัจจุบัน มีเลือดผสมจากเตมูจินจอมข่านชาวมองโกล และมารดาเป็นชาวเติร์ก (เปอร์เซีย) มเหสีองค์หนึ่งของตีมูร์คือ เจ้าหญิงซาไร มัล คานุม ผู้สืบเชื้อสายมาจากเตมูจินนั้นเอง ตีมูร์เติบโตขึ้นในช่วงที่แคว้นข่านต่างๆ เริ่มอ่อนแอ และล่มสลายลง สถานการณ์นี้เองจึงเอื้อให้ตีมูร์สามารถทําสงคราม และสถาปนาจักรวรรดิตีมูร์ขึ้นมาได้ในช่วงปีค.. 1364 โดยมีเมืองซามาร์คานเป็นเมืองหลวงของอาณาจักร

 ขณะที่ผู้คนในยุโรป เปอร์เซีย อาหรับ อินเดีย จีน ต่างเกรงกลัวเกลียดชัง และสาปแช่งตีมูร์ ด้วยความเหี้ยมโหดที่ยิ่งกว่ากองทัพของเจงกิสข่าน กองทัพตีมูร์เป็นที่เลื่องลือไปทั่วในการเข่นฆ่าผู้คนอย่างไม่ไว้หน้าใคร แต่ในเอเชียกลางเองตีมูร์คือ วีรบุรุษผู้นําพาความรุ่งเรืองมั่งคั่งมาสู่ผืนแผ่นดิน มีการสร้างวัง มัสยิด และโรงเรียนสอนศาสนาขึ้นมาเป็นจํานวนมาก มีการปรับปรุงระบบชลประทานเพิ่มประสิทธิภาพในการเพาะปลูกรอบกรุงซามาร์คาน สถาปัตยกรรมยิ่งใหญ่ และวิทยาการต่างๆ ของซามาร์คานในทุกวันนี้ เกิดขึ้นในสมัยของตีมูร์หรือสืบเนื่องมาจากสมัยของตีมูร์ทั้งสิ้น อาณาจักรของติมูร์มีพื้นที่เกือบทั้งหมดของเอเชียกลางตั้งแต่ตุรกี ซีเรีย อิรัก คูเวต อิหร่าน คาซัคสถาน อัฟกานิสถาน อาเซอร์ไบจาน จอร์เจีย เติร์กเมนิสถาน อุซเบกิสถาน คีร์กีสถาน ปากีสถาน บางส่วน ของอินเดีย ไปจนถึงดินแดนคัชการ์ในเขตซินเจียงของประเทศจีนในปัจจุบัน ด้วยเจตนาการฟื้นฟูจีนตามบรรพบุรุษในระหว่างเดินทางไปทําศึกกับจักรวรรดิจีนสมัยราชวงศ์หมิง ตีมูร์ล้มป่วยลง และเสียชีวิตด้วยโรคปอดในปี ค.. 1405 ปิดฉากการจักรพรรดิ์ที่ยิ่งใหญ่ด้วยวัย 69 ปี 

Mirzo Ulug Bek ; อุลุก เบก (ค.ศ. 1394-1449) ข่านหลานของตีมูร์ ผู้ทำให้เมืองซามาร์คานเป็นศูนย์กลางวิทยาศาสตร์ของโลกสมัยกลาง เป็นผู้คิดค้นเครื่องมือในการคํานวณการเคลื่อนที่ของดวงดาว ซึ่งเป็นฐานคิดให้นิโคลัส โค เปอร์นิคัส นักปราชญ์ของโปแลนด์วางรากฐานทางดาราศาสตร์ในเวลาต่อมา

Zahiruddin Muhammad Babur ; บาร์บูร์ (ค.ศ. 1483-1530) จอมข่านรุ่นเหลนของติมูร์ คือผู้สถาปนาราชวงศ์โมกุล [Mughal] ผู้นำศาสนาอิสลามเข้าไปในอินเดีย ผู้เป็นต้นตระกูลของจักรพรรดิชาห์ จาฮัน  [Shah Jahan]  ผู้สร้างอนุสรณ์แห่งความรัก ทัชมาฮัล [Taj Mahal] ที่ยิ่งใหญ่นั่นเอง

พันหนึ่งทิวา….อาหรับราตรี อมตะนิทานแฟนตาซีแห่งตะวันออกกลางระหว่างยุคทองของอิสลามที่โด่งดังที่สุดคือ ตะเกียงวิเศษของอะลาดิน ถือว่าสุดยอดอมตะนิทานที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดจุดกำเนิดที่สุสาน ชาห์ อิ ซินดา [Shah i Zinda] โดมสีฟ้าที่เมืองแห่งนี้

Copyright © 2019 niramitholiday.com | All Rights Reserved. | Powered by applezeed.com
go to top